การดูแลลูกในสัปดาห์แรก
หมวดหมู่: ดูแลกัน | เผยแพร่เมื่อ: 26 มกราคม 2564
แรกเกิด
- นอกจากคุณแม่แล้วคุณพ่อและสมาชิกในครอบครัวทุกคน มีส่วนช่วยได้อย่างมากในการช่วยดูแลทั้งแม่และลูก หากลูกมีพี่ ให้พี่ได้มีส่วนร่วมในการดูแลน้องอย่างเหมาะสมด้วยนะคะ คุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยาย สามารถเสริมสร้างกำลังใจและให้การช่วยเหลือครอบครับมือใหม่ได้เป็นอย่างมาก อย่าลืมให้โอกาสครอบครัวมือใหม่ได้เสริมสร้างกำลังใจซึ่งกันและกัน และมีความมั่นใจในการพัฒนาบทบาทของแต่ละคนด้วยนะคะ
- ครอบครัวที่สามารถทำหน้าที่ได้ดีทั้งในช่วงที่มีความสุขและความทุกข์นั้น มักพบว่ามีความเป็นผู้นำที่เท่าเทียมกันระหว่างสามีภรรยา และมีความร่วมมือกันอย่างดีระหว่างพ่อแม่และผู้ใหญ่ในครอบครัว มีขอบเขตระหว่างรุ่น ระหว่างวัยชัดเจน สมาชิกเป็นตัวของตัวเองอย่างพอดี และยอมรับความแตกต่างของแต่ละคน สมาชิกมองกันแลกันและมองโลกในแง่ดี ใกล้ชิดสนิทสนมมองปัญหาเป็นความท้าทาย เลือกแก้ปัญหาอันเกิดจากความคิดที่แตกต่างได้อย่างเหมาะสม และมีการสื่อสารในครอบครัวแบบเปิดเผยและไม่อ้อมค้อมแต่รักษาความรู้สึกของสมาชิกในครอบครัว ส่วนครอบครัวที่ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ดีทั้งในช่วงสุขและทุกข์นั้น มักพบพ่อแม่ที่ไม่ค่อยให้ความร่วมมือกัน บางครั้งพ่อหรือแม่ไปเข้าพวกกับลูกต่อต้านอีกคนหนึ่ง มีแบบแผนการแก้ปัญหาที่ไร้ประสิทธิภาพ ขาดความเป็นผู้นำ ไม่มีขอบเขตระห่างกัน ก้าวก่ายไม่ไว้ใจกันและกัน สื่อสารไม่ดี รวมทั้งไม่ยอมรับความแตกต่างของแต่ละบุคคล มาเสริมสร้างครอบครัวเราให้เข้มแข็ง มีความสุขเดินไปด้วยกันแม้จะคิดเห็นต่างนะคะ
1 วัน
- การอุ้มบ่อยๆ และตอบสนองความต้องการของเด็กอย่างทันท่วงทีในวัยนี้ เป็นการสร้างความผูกพันธที่ดีต่อกัน ไม่ทำให้ลูกติดมากจนเกินไป และไม่ทำให้ลูกเสียนิสัย
- หากลูกมีพี่ ให้พี่ได้มีส่วนร่วมในการดูแลน้องอย่างเหมาะสม และหาเวลาสำหรับทำกิจกรรมกับพี่ด้วยนะคะ
2 วัน
- ควรทำความสะอาดและเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้งหลังขับถ่าย ควรล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอโดยเฉพาะหลังเปลี่ยนผ้าอ้อม และก่อนให้นม
- ในวันแรกๆ ลูกต้องการน้ำนมปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น การให้ลูกดูดนมบ่อยๆช่วยกระตุ้นน้ำนม ควรช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลาย
- แนะนำว่า ณ จุดนี้ อย่าเพิ่งถามคุณแม่ว่า 'น้ำนมเพียงพอหรือเปล่า' เพราะจะทำให้กังวลได้มากยิ่งขึ้น หากสงสัยควรสอบถามบุคลากรทางสาธารณสุขนะคะ
3 วัน
- ช่วงนี้ในครอบครัวคงจะมีการปรับตัวหลายๆ อย่าง สำหรับทุกคนนะคะ คุณแม่อาจจะมีความเครียดและวิตกกังวลและเศร้า ร้องไห้ง่ายกว่าปกติได้ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา
- แต่หากรู้สึกว่าเครียดมาก เศร้าผิดปกติ หรือไม่สามารถดูแลลูกได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรทางสาธารณสุขนะคะ
5 วัน
- โดยทั่วไปสะดือจะแห้งและหลุดเองภายใน 1-2 สัปดาห์ ควรปล่อยให้แห้งและหลุดเองโดยอาจมีเลือดซึมออกมาหลังสะดือหลุด 1-2 วัน
- หากมีอาการ บวมแดง มีหนอง หรือมีของเหลวไหลออกจากสะดือควรปรึกษาแพทย์นะคะ
6 วัน
- การอุ้มบ่อยๆ และตอบสนองความต้องการของเด็กอย่างทันท่วงทีในวัยนี้ เป็นการสร้างความผูกพันธที่ดีต่อกัน ไม่ทำให้ลูกติดมากจนเกินไป และไม่ทำให้ลูกเสียนิสัย
- หากลูกมีพี่ ให้พี่ได้มีส่วนร่วมในการดูแลน้องอย่างเหมาะสมด้วยนะคะ
7 วัน
- คุณพ่อและสมาชิกในครอบครัวทุกคน มีส่วนช่วยได้อย่างมากในการช่วยดูแลทั้งแม่และลูก หากลูกมีพี่ ให้พี่ได้มีส่วนร่วมในการดูแลน้องอย่างเหมาะสม ด้วยนะคะ
- คุณปู่คุณย่าคุณตา คุณยาย สามารถเสริมสร้างกำลังใจและให้การช่วยเหลือครอบครับมือใหม่ได้เป็นอย่างมาก อย่าลืมให้โอกาส ครอบครัวมือใหม่ได้เสริมสร้างกำลังใจซึ่งกันและกัน และมีความมั่นใจในการพัฒนาบทบาทของแต่ละคนด้วยนะคะ
สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดย มหาวิทยาลัยขอนแก่น