อุปกรณ์ ของเล่นและการป้องกันอุบัติเหตุของลูกวัย 12-18ปี
หมวดหมู่: อุปกรณ์ ของเล่น และการป้องกันอุบัติเหตุ | เผยแพร่เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2560
"ของเล่นที่ดีที่สุดของลูกคือผู้ดูแลซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับลูก"
การโดยสารรถ
- ไม่ส่งเสริมให้วัยนี้ขับขี่รถยนต์และจักรยานยนต์ โดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะ
- เด็กอายุ < 13 ปี ให้นั่งที่เบาะหลังเท่านั้น
- เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ หากทุกคนในรถไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่ควรติดเครื่องยนต์
- ก่อนออกรถทุกครั้งต้องสำรวจว่าไม่มีเด็กๆ อยู่ใกล้รถ
- ควรสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานทุกครั้งที่โดยสารรถจักรยานและจักรยานยนต์
- สอนวิธีการใช้ระบบขนส่งมวลชน การเดินทางเท้าอย่างปลอดภัย
- สอนและสาธิตการข้ามถนนอย่างปลอดภัยเมื่อจำเป็นในกรณีที่ไม่มีผู้พาข้าม ไม่มีสัญญาณไฟ ไม่มีสะพานลอยข้ามถนน
- ควรฝึกให้ขี่จักรยานให้ถูกวิธี ปลอดภัย ตามกฎจราจร
การป้องกันการพลัดตกหกล้มและจมน้ำ
- ระวังอันตรายจากการจมน้ำ โดยเฉพาะแหล่งน้ำในชุมชนและแหล่งน้ำในบริเวณใกล้เคียงเส้นทางที่ใช้เดินทางประจำ
- สอนลูกให้รู้จักอันตรายและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อาจเกิดจากการเล่นน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ
- ควรสอนให้รู้จักแหล่งน้ำที่มีความเสี่ยงและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขความเสี่ยง และกำหนดกฎความปลอดภัยร่วมกัน
- ช่วยกันดูแลป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดในแหล่งน้ำของชุมชน
- ควรตรวจสอบอุปกรณ์กีฬา เสาฟุตบอล แป้นบาสเก็ตบอล และเครื่องเล่นสนามที่มีน้ำหนักมาก ว่าจัดอย่างเหมาะสม ยึดติดกับกำแพงหรือพื้นไม่ให้ล้มคว่ำได้ง่าย
การป้องกันอันตรายจากความร้อนและไฟฟ้า
- ลูกควรได้รับการสอนสาธิตการใช้ และข้อควรระวังในการใช้เครื่องไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้ และควรต่อสายดินและติดตั้งเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ
การป้องกันอันตรายจากสัตว์กัด
- อาจนำสุนัข แมวที่เลี้ยงไว้ไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าตามกำหนดทุกครั้ง
- สอนลูกไม่ให้เล่นกับสัตว์จรจัด สุนัขแม่ลูกอ่อน และลูกสุนัขที่มีแม่อยู่ด้วย
- สอนลูกไม่ให้รังแกสัตว์ เช่น ดึงหู ดึงหาง เตะ แย่งจานอาหาร และแย่งของเล่น
- ดูแลบริเวณรอบบ้านอย่าให้มีแมลงหรือสัตว์มีพิษมาทำรัง เช่น ผึ้ง ต่อ แตน
การป้องกันอันตรายจากยาและสารเคมี
- ควรมีภาชนะ และตู้สำหรับเก็บยาและสารเคมี อย่างเหมาะสม เด็กเปิดไม่ได้ และเก็บให้พ้นมือเด็ก
- สอนให้ลูกรู้จักอันตรายของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีผลเสียต่อสมองที่กำลังพัฒนาของวัยนี้ (ยังคงพัฒนาต่อไปจนถึงอย่างน้อย 20 ปี) ทำให้ความสามารถในการป้องกันตัวลดลง และไม่ควรดื่มก่อนการขับขี่ยานพาหนะ เพราะนอกจากจะเกิดผลเสียต่อตัวเองได้แล้วอาจจะเกิดผลเสียต่อผู้อื่นด้วย
- หากลูกกินยาหรือสารพิษเข้าไป ควรติดต่อศูนย์พิษวิทยา 1367 เพื่อขอคำแนะนำในการปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี
อื่นๆ
- ลูกควรทราบและมีส่วนร่วมในการกำหนดกฎความปลอดภัยของครอบครัว เช่น เวลาที่ควรกลับถึงบ้าน ควรแจ้งและขออนุญาตผู้ปกครองเมื่อจำเป็นต้องออกนอกบริเวณที่กำหนดหรือผิดเวลา ไม่ควรค้างคืนนอกบ้านยกเว้นได้รับอนุญาตก่อน
- สอนให้ลูกรู้จักการจัดการและควบคุมอารมณ์อย่างเหมาะสมและหาทางออกในทางสร้างสรรค์ เช่น การเล่นกีฬา ดนตรี ศิลปะ ทำกิจกรรมยามว่างที่ส่งเสริมทักษะต่างๆ การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ชุมชน
- สอนลูกเรื่องความสัมพันธ์กับเพื่อนอย่างเหมาะสม กำหนดของเขตความใกล้ชิดกับเพศตรงข้าม
- สอนให้ลูกรู้จักป้องกันตนเองจากสถานการณ์เสี่ยงจากภัยต่างๆ เช่น ไม่ควรแต่งกายล่อแหลม ไม่เดินทางในยามวิกาลโดยลำพัง
- ลูกควรรู้จักการปฏิเสธ ไม่ยอมปฏิบัติตาม เมื่อมีคนมาชักจูงแม้จะเป็นคนใกล้ชิด และไม่มั่นใจว่าสิ่งที่ถูกชักชวนให้ปฏิบัตินั้นจะนำไปสู่อันตรายหรือไม่
- ควรฝึกให้ลูกได้รู้จักวิธีการจัดการกับปัญหาและความขัดแย้งอย่างเหมาะสม เช่น รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น การยอมรับผิด การปรับปรุงตัว ผู้ดูแลไม่ควรปล่อยให้เด็กใช้ความรุนแรงต่อกันหรือรังแกกัน
- สอนให้รู้จักหลีกเลี่ยงป้องกันตนเองจากบุคคลอันตราย สอนให้ลูกรู้จักบอกเมื่อผู้อื่นมากระทำหรือปฏิบัติโดยมิชอบ
- ลูกควรได้รับการฝึกปฐมพยาบาลและฝึกการกู้ชีพเบื้องต้นอย่างถูกต้อง
- ไม่ควรเก็บอาวุธปืนไว้ในบ้าน หากจำเป็น ควรเก็บปืนที่ไม่ได้ใส่กระสุนปืนไว้อย่างมิดชิด เก็บปืนและกระสุนปืนไว้แยกจากกัน
- ผู้ดูแลไม่ควรสนับสนุน ไม่จ้างวานให้ลูกซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ของมึนเมาและสิ่งเสพติด และควรเป็นตัวอย่างการปฏิบัติตัวที่ดี
สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดย มหาวิทยาลัยขอนแก่น